ข้อสอบ ภูมิศาสตร์ พร้อมเฉลย

ข้อสอบ ภูมิศาสตร์ พร้อมเฉลย ข้อสอบ  สังคมศึกษา เรื่อง สาระภูมิศาสตร์   จำนวน 50 ข้อ ปีการศึกษา2551 (พร้อมเฉลย) จาก สถาบัน / หน่วยงาน  การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ติวเข้ม ONET ข้อสอบ ภูมิศาสตร์ พร้อมเฉลย (หลักสูตร 2551) ฉบับที่ 2 ข้อใดแบ่งประเภทของแผนที่ตามลักษณะการใช้ได้ถูกต้อง ข้อสอบ ภูมิศาสตร์ พร้อมเฉลย แผนที่อ้างอิง แผนที่เฉพาะเรื่อง แผนที่เล่ม แผนที่อ้างอิง แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เล่ม แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เฉพาะเรื่อง แผนที่รัฐกิจ แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เล่ม แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ แผนที่เล่มเป็นแผนที่ที่รวมแผนที่ชนิดใดเข้าด้วยกันเป็นเล่มเดียว แผนที่หลาย ๆ ชนิด แผนที่รัฐกิจหลาย ๆ ชนิด แผนที่รัฐกิจและแผนที่อ้างอิง แผนที่รัฐกิจและแผนที่ธรณีวิทยา แผนที่รัฐกิจที่บอกเฉพาะชื่อจังหวัดและชื่อประเทศน่าจะเป็นแผนที่มีขนาดมาตราส่วนในข้อใด 1:2,500 1:25,000 […]

ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก ทั้งที่เกิดจากทางกายภาพและเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ว่ามีการกระจายอย่างไรหรือมีความสัมพันธ์อย่างไรในพื้นที่หนึ่ง ๆ หรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่อย่างไรจนก่อให้เกิดการจัดรูปแบบพื้นที่และนำไปสู่การอธิบาย การวางกฎเกณฑ์ รวมทั้งเสนอหลักทฤษฎีขึ้นมาได้ นักภูมิศาสตร์อธิบายถึงรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของที่ต่างๆ บนโลก แผนที่ และสัณฐานโลก โดยอธิบายว่ารูปแบบการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การศึกษาภูมิศาสตร์จะทำให้เข้าใจปัญหาทางด้านกายภาพ และวัฒนธรรม ของบริเวณที่ศึกษา และสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่อยู่บนพื้นผิวโลก ทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในภูมิภาคต่างๆของโลก อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อันจะเป็นพื้นฐานให้มนุษย์นำไปพัฒนาหรือดัดแปลงแก้ไขสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ต่อไป ลักษณะทางกายภาพของโลก ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โลกเกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนที่รวมตัวกันและกลายเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4,500 ล้านปีมาแล้ว ในช่วงแรกๆ โลกเป็นของแข็งก้อนกลมอัดกันแน่นและร้อนจัด ต่อมาจึงเย็นตัวลง เมื่อโลกเย็นตัวลงใหม่ๆ นั้น ไม่ได้มีสภาพทั่วไปดังเช่นในปัจจุบันและไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย โลกใช้เวลาปรับสภาพอยู่ประมาณ 3,000 ล้านปี จึงเริ่มมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกิดขึ้น และใช้เวลาวิวัฒนาการอีกประมาณ 1,000 ล้านปี จึงได้มีสภาพแวดล้อมทั่วไปคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในปัจจุบัน ในสมัยโบราณ มนุษย์เคยเชื่อกันว่า โลกมีสัณฐานแบนคล้ายจานข้าว นักเดินเรือในสมัยนั้นจึงไม่กล้าเดินทางไปในมหาสมุทรไกลๆ […]

ภูมิศาสตร์ คือ

ภูมิศาสตร์ คือ ภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: geography, กรีก: γεωγραφία แปลว่า “การพรรณนาเกี่ยวกับโลก”) เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาเกี่ยวกับพื้นดิน ภูมิประเทศ ประชากร และปรากฏการณ์บนโลก บุคคลแรกที่ใช้คำว่า γεωγραφία คือเอราทอสเทนีส (276–194 ปีก่อน ค.ศ.) ภูมิศาสตร์ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและความซับซ้อนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติที่เกิดขึ้นซึ่งไม่เฉพาะแต่ในรูปธรรมแต่ยังรวมถึงความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปภูมิศาสตร์มักถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาหลักคือภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นที่และสถานที่ ขณะที่ภูมิศาสตร์กายภาพเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันประกอบด้วย บรรยากาศภาค อุทกภาค ชีวภาค และธรณีภาค สี่ขนบธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ในการวิจัยทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ของปรากฏการณ์ธรรมชาติและมนุษย์ การศึกษาพื้นที่ของสถานที่และภูมิภาค การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นดินกับมนุษย์ และวิทยาศาสตร์โลก ภูมิศาสตร์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “สาขาวิชาแห่งโลก” และ “ตัวเชื่อมระหว่างมนุษย์และวิทยาศาสตร์กายภาพ” บทนำ ภูมิศาสตร์ คือ ภูมิศาสตร์ คือ นักภูมิศาสตร์ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักทำแผนที่และผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับลำดับและชื่อของสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับภูมินามวิทยาและการทำแผนที่แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของนักภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์เป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่และการกระจายของฐานข้อมูลเชิงเวลาจากปรากฏการณ์ กระบวนการ […]