ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก ทั้งที่เกิดจากทางกายภาพและเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ว่ามีการกระจายอย่างไรหรือมีความสัมพันธ์อย่างไรในพื้นที่หนึ่ง ๆ หรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่อย่างไรจนก่อให้เกิดการจัดรูปแบบพื้นที่และนำไปสู่การอธิบาย การวางกฎเกณฑ์ รวมทั้งเสนอหลักทฤษฎีขึ้นมาได้

นักภูมิศาสตร์อธิบายถึงรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของที่ต่างๆ บนโลก แผนที่ และสัณฐานโลก โดยอธิบายว่ารูปแบบการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การศึกษาภูมิศาสตร์จะทำให้เข้าใจปัญหาทางด้านกายภาพ และวัฒนธรรม ของบริเวณที่ศึกษา และสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่อยู่บนพื้นผิวโลก ทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในภูมิภาคต่างๆของโลก อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อันจะเป็นพื้นฐานให้มนุษย์นำไปพัฒนาหรือดัดแปลงแก้ไขสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ต่อไป

ลักษณะทางกายภาพของโลก ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โลกเกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนที่รวมตัวกันและกลายเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4,500 ล้านปีมาแล้ว ในช่วงแรกๆ โลกเป็นของแข็งก้อนกลมอัดกันแน่นและร้อนจัด ต่อมาจึงเย็นตัวลง เมื่อโลกเย็นตัวลงใหม่ๆ นั้น ไม่ได้มีสภาพทั่วไปดังเช่นในปัจจุบันและไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย โลกใช้เวลาปรับสภาพอยู่ประมาณ 3,000 ล้านปี จึงเริ่มมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกิดขึ้น และใช้เวลาวิวัฒนาการอีกประมาณ 1,000 ล้านปี จึงได้มีสภาพแวดล้อมทั่วไปคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในปัจจุบัน

ในสมัยโบราณ มนุษย์เคยเชื่อกันว่า โลกมีสัณฐานแบนคล้ายจานข้าว นักเดินเรือในสมัยนั้นจึงไม่กล้าเดินทางไปในมหาสมุทรไกลๆ เพราะกลัวว่าจะตกขอบโลกออกไป ต่อมามีการเดินเรือรอบโลกโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) ภูมิศาสตร์ คือ นักเดินเรือชาวโปรตุเกสซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าโลกมีสัณฐานกลม และในปัจจุบันมีการส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกในระยะไกลและถ่ายภาพโลกไว้ จากภาพถ่ายเหล่านั้นก็ปรากฏชัดว่าโลกมีสัณฐานกลม

ขนาดของโลกเมื่อวัดระยะทางในแนวเส้นศูนย์สูตรจะได้ความยาวประมาณ 12,756 กิโลเมตร และวัดในแนวขั้วโลกเหนือ-ใต้ยาวประมาณ 12,719 กิโลเมตร ทำให้โลกมีลักษณะกลมแป้นเหมือนผลส้มที่ตรงกลางป่องเล็กน้อยและขั้วโลกทั้งสองมีลักษณะแบน โลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาโดยหมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงและหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 106,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 364 ¼ วัน

เมื่อพิจารณาถึงส่วนประกอบของโลกพบว่าโลกมีมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วนคือ

  1. ธรณีภาค (Lithosphere) คือ แก่นโลกและเปลือกโลกส่วนที่รวมตัวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดิน หิน แร่ธาตุ
  2. อุทกภาค (Hydrosphere) คือ ส่วนที่เป็นของเหลวหรือพื้นน้ำที่ปกคลุมผิวโลก เช่น ทะเล มหาสมุทร รวมถึงน้ำใต้ดิน ไอน้ำในอากาศและน้ำที่เป็นน้ำแข็งขั้วโลกด้วย
  3. บรรยากาศภาค (Atmosphere) คือ เปลือกโลกส่วนที่เป็นก๊าซอยู่เหนือผิวโลก ทำให้เกิดลักษณะภูมิอากาศ (Climate) และ ลมฟ้าอากาศ (Weather) ก๊าซต่างๆ บนโลกเรานี้ประกอบด้วยไนโตรเจนร้อยละ 78 ก๊าซออกซิเจนร้อยละ 21 และก๊าซอื่นๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ฮีเลียม อีกร้อยละ 1
  4. ชีวภาค (Biosphere) คือ สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลกทั้งบนบก ในดิน ในน้ำ และในอากาศ เช่น มนุษย์ สัตว์ พื

ลักษณะภูมิประเทศของโลก

ภูมิประเทศของทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ประมาณ 44 ล้านตารางกิโลเมตรเป็นทวีปที่มีพื้นที่กว้างที่สุดของโลก ตั้งอยู่ทางซีกตะวันออกของโลก ดินแดนเกือบทั้งหมดอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ยกเว้นบางส่วนของหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย ทวีปเอเชียมีขนาดกว้างใหญ่มาก ทำให้ตอนกลางของทวีปห่างจากมหาสมุทรมาก เป็นเหตุให้อิทธิพลของพื้นน้ำไม่สามารถแผ่เข้าไปได้ไกลถึงภายในทวีป ประกอบกับตอนกลางของทวีปมีเทือกเขาสูงขวางกั้นกำบังลมทะเลที่จะพัดเข้าสู่ภายในทวีป ทำให้บริเวณตั้งแต่ตะวันตกเฉียงใต้จนถึงตอนกลางของทวีปมีพื้นที่แห้งแล้งเป็นบริเวณกว้า

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชีย แบ่งออกได้ดังนี้

เขตเทือกเขาสูงตอนกลางทวีป เป็นเทือกเขาเกิดใหม่ ข้อสอบ ภูมิศาสตร์ พร้อมเฉลย เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก มีความสูงมาก มีหลายเทือกเขา ซึ่งจุดรวมเรียกว่า ปามีร์นอต (Pamir Knot) หมายถึง หลังคาโลก (The Roof of the World) ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย มียอดเอเวอร์เรสต์ สูงที่สุดในโลก 8,848 เมตร และทอดตัวออกไปหลายทิศทาง ตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เช่น เทือกเขาคุนลุน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต ทางตะวันตก เช่น เทือกเขาฮินดูกูซ ส่วนทางใต้ เช่น เทือกเขาสุไลมาน เขตที่ราบสูง บริเวณตอนกลางทวีปมีที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขา เช่น ที่ราบสูงยูนนานและที่ราบสูงทิเบตในประเทศจีนเป็นที่ราบสูงมีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีเขตที่ราบสูงตอนใต้ เช่น ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย และเขตที่ราบสูงตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ที่ราบสูงอิหร่านในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกี

. เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เป็นที่ราบดินตะกอนที่เกิดจากแม่น้ำอ๊อบ เยนิเซ และลีนา ไหลผ่าน เรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย มีอาณาเขตกว้างขวาง แต่มีคนอาศัยอยู่น้อยเพราะอยู่ในเขตภูมิอากาศหนาวมาก ทำการเพาะปลูกไม่ได้ ในฤดูหนาวน้ำในแม่น้ำจะเป็นน้ำแข็ง

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบต่ำเกิดจากตะกอน มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก นับเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของทวีปเอเชีย เช่น ในเอเชียตะวันออก มีแม่น้ำฮวงโห แม่น้ำแยงซีเกียง (จีน) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำแดง (เวียดนาม) แม่น้ำเจ้าพระยา (ไทย) แม่น้ำอิระวดี (พม่า) แม่น้ำโขง (คาบสมุทรอินโดจีน) ในเอเชียใต้ มีแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร (อินเดีย) ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีแม่น้ำไทกรีส – ยูเฟรตีส (อิรัก)

เขตหมู่เกาะรูปโค้ง หรือเขตหมู่เกาะภูเขาไฟ เป็นแนวต่อมาจากปลายตะวันออกสุดของเทือกเขาหิมาลัยที่โค้งลงมาทางใต้ เป็นแนวเทือกเขาอาระกันโยมาในพม่าแล้วหายลงไปในทะเล บางส่วนโผล่ขึ้นมาเป็นหมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จนถึงหมู่เกาะญี่ปุ่น เป็นแนวภูเขารุ่นใหม่ จึงเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ ภูมิศาสตร์ ม.5 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

หัวข้อที่น่าสนใจ